จริงๆหนังสือเล่มนี้ได้พร้อมกับ"Vogue Homme Japan"ตั้งแต่ก่อนไปเกาหลี แต่พอไปดูที่ร้านแล้ว..ดิฉันปล่อยให้"Lady Gaga"นอนเล่นอยู่ที่"Kinokuniya"ดีกว่า เอากลับมาบ้านด้วย..ท่าทางจะเปลืองพื้นที่เก็บ พอมองไปที่ชั้นวางหนังสือในร้าน..อุแม่เจ้า..ปกเล่ม"Lady Gaga"เหลือเป็นตัน ส่งมาจากญี่ปุ่นกี่เล่ม..ก็น่าจะยังเหลืออยู่เท่านั้น..5..5..5 คนคงอยากดูแฟชั่นผู้ชายใหม่ๆหรือผู้ชายแก้ผ้ามากกว่าดูกาก้าเป็นทอม
ดิฉันเป็นคนที่เข้าใจอะไรยาก จึงไม่ค่อยเข้าใจ(ทั้งๆที่พยายามแล้ว..5..5..5)คำโปรยบนปกที่เขียนว่า"1976-1980" เพราะด้านในของเล่มไม่ค่อยมีอะไรที่เกี่ยวกับช่วงยุคที่เอ่ยถึงนักนอกจากบทความที่ชื่อยาวเหยียดว่า.."Back in The Late 1970's , I Used to Belive Every Word of Johnny Rotten"กับบทความที่ชื่อเดียวกับหน้าปก(นั่นไงย่ะ..เกี่ยวแล่ว..5..5..5) ซึ่งถ้าดูรวมๆเล่มนี้น่าจะเกี่ยวกับดนตรี"Punk"และ"New Wave"
โดยปกติแล้วหนังสือ"Commons&Sense Man"หรือหนังสือแฟชั่นผู้ชายทั่วๆไปของญี่ปุ่นจะไม่ขายนายแบบ คือว่ากันง่ายๆคือยากที่จะเห็นนายแบบถอดเสื้อหรือนุ่งน้อยห่มน้อยในหนังสือ จะว่าด้วยกฎหมายคงไม่ใช่ แต่ในที่สุดญี่ปุ่นก็คงต้องตามกระแสตลาดทั่วไปที่นิยมขายนายแบบ เล่มนี้จึงเล่นกันแบบเต็มที่..เต็มหน้า เนื่องจากหนังสือ"Commons&Sense Man"เล่มค่อนข้าง..ไม่ใช่ค่อนข้าง..ใหญ่และหนักมาก ทำให้ไม่ค่อยเห็นมีภาพสแกนจากหนังสือเล่มนี้ลงตามบล็อคหรือเวปไซท์ต่างๆ
เมื่อเปรียบเทียบกับเล่มที่ผ่านมา(เล่ม8)..เมื่อตัดรูปผู้ชายออก..5..5..5 เล่มนี้ก็ยังดีกว่า..แต่ไม่ตอบสนองจุดที่หนังสือออกเพียงปีล่ะสองครั้ง น่าจะมีอะไรที่แปลกใหม่และสร้างสรรมากกว่านี้ ดิฉันมีความรู้สึกว่าหลังๆหนังสือญี่ปุ่นหลายๆเล่มที่นานๆออกที กลับไม่ค่อยนำเสนอความคิดสร้างสรรเท่าตอนที่ออกตลาดแรกๆ มักย่ำอยู่กับที่..อะไรที่ขายได้,รูปแบบไหนที่ขายได้..ก็อยู่ตรงนั้น เสียดายคอนเซปของหนังสือหลายๆเล่มค่ะ