วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลลนา : 1981


หนังสือ"ลลนา"เล่มนี้คือเล่มหนึ่งที่เป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆคน เสื้อผ้าเป็นฝีมือจากการออกแบบของ"ม.ล.อารชว วรวรรณ" ซึ่งนัยว่านี่คือชุดแต่งงานไทยแบบสมัยใหม่ คือเป็นไทยในแบบฝรั่งแต่ยังดูเป็นไทยอยู่ เรามีคนไทยที่ไปดังอยู่ในต่างประเทศเยอะแยะหลายอาชีพ แต่เราทำอะไรให้คนต่างชาติรู้ได้มากกว่าคนนั้นมี"เชื้อชาติไทย"ไหม? ดีไซน์เนอร์ญี่ปุ่นคนต่างชาติทั่วไปมักไม่ได้รู้จักเพียงแค่ว่า"นี่คือดีไซน์เนอร์ญี่ปุ่น"


ดีไซน์เนอร์ญี่ปุ่นมักนำพาเอาวัฒนธรรมแบบดัดแปลงของตัวเองไปนำเสนอในรูปแบบของเสื้อผ้าตะวันตกต่อสื่อต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นแรกๆอย่าง"Kansai Yamamoto","Issey Miyake"หรือ"Kenzo Takada" ที่นับว่าเป็นดีไซน์เนอร์เอเซียกลุ่มแรกๆที่ทำให้คนตะวันตกหันมามองผลงานของดีไซน์เนอร์เอเซีย ไม่ใช่เพียงแค่เป็นเพราะ"ดีไซน์เนอร์ญี่ปุ่น" แต่การดัดแปลงเสื้อผ้าแบบพื้นฐานและลวดลายแบบญี่ปุ่นแท้ๆให้คนตะวันตกเข้าใจได้ง่ายขึ้น..นั่นคือประเด็น


ทุกวันนี้ดูทุกวงการพยายามผลัดดันดีไซน์เนอร์ไทยให้ไปเมืองนอก โดยที่ตามสายตาดิฉันแล้ว ไม่มีอะไรบ่งบอกความเป็นไทยไปมากกว่าถือพาสปอร์ตไทย ความเป็นไทยไม่จำเป็นต้องใส่ชฎาแล้วไปยืนรำ..เย้ว..เย้ว..อยู่หน้าศาลพระภูมิ เรามีงานสไบ,โจงกระเบน,ผ้าแถบ..นั่นไม่ใช่งานแบบ"Drapé"และ"Moulage"หรือ? ทีพอฝรั่งเอางานเราไปดัดแปลง..เราเห็นว่างาม..ว่าสวย เราเป็นเจ้าของงานเอง..ทำไมไม่ค่อยทำกัน ดิฉันล่ะแปลกใจ

Picture : แมวเหมียว 

ไม่มีความคิดเห็น: