วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Ziegfeld Girl : You Stepped out of a Dream (1941)

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Haute couture Fall/Winter 2011-2012 : Givenchy (Details)


ภาพล่างเมื่อถ่ายในที่แสงน้อย ชุด"Haute couture"ของ"Givenchy"จะเผยให้เห็นไข่มุกแท้ที่สั่งผลิตให้เกิดผลกับแสงในแบบ"Reflective"(สะท้อนแสง)ซึ่งใช้เวลาผลิตถึง8เดือน


Picture : Vogue , Purple Diary

Haute Couture Fall/Winter 2011-2012 : Azzedine Alaïa (Details)


เสื้อผ้า"Haute Couture"ของ"Azzedine Alaïa"คือเสื้อผ้าในแบบ"น้อยแต่มาก ยากในการผลิต" ตั้งแต่หนังแท้ที่ปั๊มลายเลียนแบบหนังจระเข้จริงไปจนถึงผ้าวูลและกำมะหยี่ที่ฉลุลายเลียนแบบผ้าลูกไม้


Picture : Style Bistro

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Billie Holiday : Strange Fruit (1956)


ค.ศ.1956...เท่ากับพ.ศ.2499ของไทย..หรือ55ปีผ่านมาแล้ว..! หลายคนชอบเปรียบเทียบ"Amy Winehouse"กับ"Billie Holiday"ว่ามีส่วนคล้ายกันทั้งน้ำเสียงและการดำเนินชีวิต จนหลายคนกลัวว่า..เธอจะจบชีวิตลงเหมือน"Billie Holiday"..และมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ นักร้องดังหลายคนจบไม่สวย แต่สิ่งที่พวกเธอเหลือไว้กลับมีค่ามากมายและไร้กาลเวลา วิดีโอด้านบน..ใช่ผ่านมา55ปีแล้ว แต่ดู"Billie Holiday"แต่งตัว..เดรสทำจากผ้า"Lamé"แบบเดียวกับที่"Prada"เพิ่งทำไปใน"Fall/Winter 2011-2012" กับต่างหูรูปทรงที่ไม่ได้แตกต่างไปจากยุคปัจจุบันนี้ กับเพลงที่แฝงเรื่องราวความแปลกแยกแตกต่างอย่าง"Strange Fruit"

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

The Young Professionals : D.I.S.C.O (2011)


เพลง"D.I.S.C.O"จากวง"The Young Professionals" เพลงใหม่ที่ทำจากเพลงเก่าชื่อเดียวกันของวง"Ottawan"ในปี1979 ไม่ค่อยเหลือเค้าเดิมเท่าไหร่นอกจากท่อนฮุ๊ค ส่วนตัวนักร้องของวงสองคนดูแล้วทำให้นึกถึง"Viktor & Rolf"

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลลนา : 1981


หนังสือ"ลลนา"เล่มนี้คือเล่มหนึ่งที่เป็นที่โปรดปรานของใครหลายๆคน เสื้อผ้าเป็นฝีมือจากการออกแบบของ"ม.ล.อารชว วรวรรณ" ซึ่งนัยว่านี่คือชุดแต่งงานไทยแบบสมัยใหม่ คือเป็นไทยในแบบฝรั่งแต่ยังดูเป็นไทยอยู่ เรามีคนไทยที่ไปดังอยู่ในต่างประเทศเยอะแยะหลายอาชีพ แต่เราทำอะไรให้คนต่างชาติรู้ได้มากกว่าคนนั้นมี"เชื้อชาติไทย"ไหม? ดีไซน์เนอร์ญี่ปุ่นคนต่างชาติทั่วไปมักไม่ได้รู้จักเพียงแค่ว่า"นี่คือดีไซน์เนอร์ญี่ปุ่น"


ดีไซน์เนอร์ญี่ปุ่นมักนำพาเอาวัฒนธรรมแบบดัดแปลงของตัวเองไปนำเสนอในรูปแบบของเสื้อผ้าตะวันตกต่อสื่อต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นแรกๆอย่าง"Kansai Yamamoto","Issey Miyake"หรือ"Kenzo Takada" ที่นับว่าเป็นดีไซน์เนอร์เอเซียกลุ่มแรกๆที่ทำให้คนตะวันตกหันมามองผลงานของดีไซน์เนอร์เอเซีย ไม่ใช่เพียงแค่เป็นเพราะ"ดีไซน์เนอร์ญี่ปุ่น" แต่การดัดแปลงเสื้อผ้าแบบพื้นฐานและลวดลายแบบญี่ปุ่นแท้ๆให้คนตะวันตกเข้าใจได้ง่ายขึ้น..นั่นคือประเด็น


ทุกวันนี้ดูทุกวงการพยายามผลัดดันดีไซน์เนอร์ไทยให้ไปเมืองนอก โดยที่ตามสายตาดิฉันแล้ว ไม่มีอะไรบ่งบอกความเป็นไทยไปมากกว่าถือพาสปอร์ตไทย ความเป็นไทยไม่จำเป็นต้องใส่ชฎาแล้วไปยืนรำ..เย้ว..เย้ว..อยู่หน้าศาลพระภูมิ เรามีงานสไบ,โจงกระเบน,ผ้าแถบ..นั่นไม่ใช่งานแบบ"Drapé"และ"Moulage"หรือ? ทีพอฝรั่งเอางานเราไปดัดแปลง..เราเห็นว่างาม..ว่าสวย เราเป็นเจ้าของงานเอง..ทำไมไม่ค่อยทำกัน ดิฉันล่ะแปลกใจ

Picture : แมวเหมียว 

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Review : “กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ โดย Thakoon”


คนที่ไปฟังมาตอบได้ไหมค่ะว่า..อะไรคือ“กลยุทธ์การสร้างแบรนด์"? เท่าที่ดิฉันได้ไปนั่งฟังมันคือการสัมภาษณ์คุณ"ฐากูร" ด้วยคำถามซ้ำๆเดิมๆแบบที่คุณ"ฐากูร"ต้องตอบมาแล้วหลายสิบครั้งในสื่อเมืองนอก พิธีกรดูด้อยและอ่อนหัดไม่สามารถแก้เกมส์ในขณะสัมภาษณ์ได้ มีการแปลผิดและข้ามความหมายไปหลายช่วง คนฟังภาษาอังกฤษได้ก็รอดตัวไป คนไหนไม่ชำนาญภาษาอังกฤษคงงง..พูดตั้งยาวแปลออกมาสั้นนิดเดียว..5..5..5


งานนี้แบ่งออกเป็นหลายรอบ..บางคนได้ไปทุกรอบ..5..5..5 อย่างที่เรารู้กันในตอนแรกคือรอบเดียวในวันพฤหัสที่14กรกฎาคมตอนบ่าย แต่เมื่อไกล้วันจริงกลับมีรอบเพรสในวันที่13และเช้าวันที่14เพิ่มขึ้นมา ซึ่งดิฉันได้เข้าแค่รอบเดียว(ก็เกินพอแล้ว) คนที่ได้เข้าหลายรอบ(5..5..5)ก็มีความเห็นแตกต่างกันออกไป เช่น.."รอบแรกวันพฤหัสดีกว่าค่ะ".."รอบสุดท้ายละเอียดกว่าครับ".."พิธีกรแย่ทั้งสองรอบค่ะเกะกะเวที"..5..5..5


กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ โดย Thakoon”ในตอนจบของรอบแรกมีการให้สื่อและผู้เข้าชมได้ถามคำถามกับคุณ"ฐากูร"โดยตรง..นั่นเป็นเรื่องดี..เพราะคุณ"ฐากูร"ตอบเกือบทุกคำถาม แม้แต่คำถามแปลกๆ..แปลกจนไม่น่าถามหรือนึกได้..5..5..5..คุณ"ฐากูร"ก็พยายามตอบไม่ได้หลีกเลี่ยง

Picture : Foxy Lady

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Review : Glamour 60 Years of Italian Fashion

Gianfranco Ferré

งานนิทรรศการ"Glamour 60 Years of Italian Fashion"เริ่มไปตั้งแต่เย็นวันพุธที่13กรกฎาคมที่ผ่านมา ดิฉันทำใจตั้งแต่เห็นภาพงานแถลงข่าวแล้วว่า..คงไม่มีอะไรให้ดูมากนัก ซึ่งก็ตามนั้น..5..5..5 ไม่ใช่ว่าเสื้อผ้าไม่ดี แต่..ชีวิตคนคงต้องมีข้อเปรียบเทียบ..ถ้าเราเคยทำหรือเห็นอะไรมาซักอย่างนึงแล้ว งานนี้คงเอาไปเทียบกับงานนิทรรศการของ"Christian Lacroix"หรือ"Vivienne Westwood"ที่เคยจัดไปในกรุงเทพเมื่อนานมาแล้วไม่ได้

Emilio Pucci

ตัวงานดูไม่ค่อยสมกับชื่องาน คือชื่องานนั้นบ่งบอกความยาวนานส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์วงการแฟชั่นอิตาเลี่ยน แต่ชิ้นงานกับการจัดวางกลับไม่ค่อยสื่อถึงความหมายนั้นเท่าไหร่ เสื้อโดนจัดแบ่งออกเป็นกลุ่มๆเช่น"กลุ่มลายพิมพ์","กลุ่มสีแดง"รวมไปถึง"เสื้อผ้าคนดัง"?

ซ้าย : Gianni Versace , ขวา : Prada

ดิฉันอยากลองให้ไปชมกันเหมือนกันว่า..มีส่วนไหนหรือบริเวณใด ที่สื่อหรือทำให้นึกถึงยุคสมัยที่ดีไซน์เนอร์อิตาเลี่ยนมีอิทธิพลต่อวงการแฟชั่นของโลก ดีไซน์เนอร์อิตาเลี่ยนมักเป็นชาติที่สามารถบังคับโลกของแฟชั่นได้ว่าต้องทำตาม แต่ชิ้นที่เลือกนำมาโชว์กลับไม่ใช่ตัวที่โดดเด่นหรือเป็นต้นแบบในการเป็นผู้นำแฟชั่นในช่วงยุคนั้นๆ ถ้าผ่านไปแถวนั้นแล้วแวะไปดูก็ดีค่ะ แต่ถ้าถึงขนาดตั้งใจไปดู..เกรงว่า..อาจเสียความรู้สึกเล็กน้อย นี่ถ้าเป็น"TCDC"ทำคงทำได้ดีและน่าดูกว่านี้

ซ้าย : Giambattista Valli , ขวา : Prada

Picture : Foxy Lady

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Le XVIIIème au Goût du Jour


อีกหนึ่งนิทรรศการที่ใหญ่..แต่เล็ก แหม..ก็สื่ออเมริกันเขาลงแค่นิดเดียว ก็..ไม่ได้มาจัดที่"The Metropolitan Museum of Art"นิวยอร์คนี่นา จะให้ข่าวใหญ่ได้ยังไง..5..5..5 สมัยนี้บางที"เนื้องาน"ไม่สำคัญนัก..สู้การ"โปรโมท"ไม่ได้ เราสามารถเอางาน"Haute Couture"มาลดค่าลงให้กลายเป็น"เสื้อการกุศล"ด้วยการนำเสนอ ในขณะเดียวกันเราก็สามารถนำเอา"สิ่งที่ไร้ค่า"มานำเสนอในแบบ"เกินจริง" จนคนที่เสพสื่อด้านเดียวจากที่เดียวเชื่อว่ามันเป็นแบบนั้น


คนอเมริกันบางคน(แหม..อย่าถึงขั้นให้ดิฉันต้องระบุตัวเลขหรือชื่อเลย..5..5..5)มักกระแหนะกระแหนแฟชั่นยุโรปว่า"เกินจริง"และ"ฟุ่มเฟือย" แต่ในขณะเดียวกันดีไซน์เนอร์อเมริกันอีกหลายคน..กลับต้องลากสังขารไปเสนอผลงานที่ยุโรป เพื่ออะไร?..ในเมื่อว่าเขาว่ายุโรป"เกินจริง" จะให้คนยุโรปยอมรับเสื้อผ้าแบบ"สามัญ"ของดีไซน์เนอร์อเมริกัน?

"Yohji Yamamoto" : ซ้าย : Fall/Winter 2003-2004 , ขวา : Fall/Winter 2000-2001

ซ้าย : "Madame Deshayes" ในช่วงปี 1877-1882 , ขวา : "Boué Soeurs" Fall/Winter 1925-1926

เดี๋ยวจะกลายเป็นว่านินทาอย่างเดียวจนลืมเขียนถึงเรื่องนิทรรศการ แหม..ก็มันคันมือนี่นา..5..5..5 งานนิทรรศการ"Le XVIIIème au Goût du Jour"หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า"The 18th Century Back in Fashion" จัดแสดงขึ้นที่"Grand Trianon"ในพระราชวัง"Versailles" ในระหว่างวันที่8กรกฏาคมถึงวันที่9ตุลาคม2011

"Christian Dior" Haute Couture : ซ้าย : Spring/Summer 2011 , ขวา : Fall/Winter 2007-2008

ซ้าย : ชุดในช่วงปี 1755-1760 , ขวา : ชุดในช่วงปี 1850-1853

งานนี้จัดแสดงถึงเสื้อผ้าในหลายๆยุคที่ได้รับอิทธิพลมาจากเสื้อผ้าในศตวรรษที่18(ค.ศ. 1701-1800) มีทั้งเสื้อแบบ"Prêt-à-Porter"ไปจนถึงเสื้อผ้าแบบ"Haute Couture" ซึ่งถ้าดูจากในรูปหลายๆคนคงมองว่ามันดูเป็น"Haute Couture"ไปหมดซ่ะทุกชุด เพราะบางชุดของหลายดีไซน์เนอร์ดูจะเกินความหมายของแบบที่เรียกได้ว่า"Prêt-à-Porter"ไปสักหน่อย ก็นี่แหละ..ยุโรป

"Thierry Mugler" 
ซ้าย : Prêt-à-Porter Spring/Summer 1992 
ขวา : Prêt-à-Porter Fall/Winter 1992-1993

"Azzedine Alaïa" Prêt-à-Porter Spring/Summer 1992

เสื้อผ้าที่นำมาโชว์ทั้งหมดมีจำนวน50กว่าชุด(รายละเอียดมันคือ50บ้าง,56บ้าง..?) โดยมีทั้งเสื้อผ้าที่เป็นชุดจริงๆจากศตวรรษที่18 และเสื้อผ้าจากหลากหลายดีไซน์เนอร์ของศตวรรษที่20 โดยการจัดโชว์ไม่ได้แบ่งตามชื่อของดีไซน์เนอร์ หรือยุคของเสื้อผ้า แต่เท่าที่ดูด้วยสายตาน่าจะแบ่งเป็นกลุ่มๆ โดยในหนึ่งกลุ่มมีทั้งเสื้อเก่าและเสื้อใหม่ โชว์เน้นไปที่ความต้องการให้เห็นว่าเสื้อผ้าโบราณมีอิทธิพลต่อนักออกแบบรุ่นใหม่ๆอย่างไรบ้าง

ซ้ายและขวาเป็นเสื้อผ้าในช่วงปี 1750-1760

ซ้าย : "Alexander McQueen" Givenchy Haute Couture Fall/Winter 1999-2000
ขวา : "Vivienne Westwood" Fall/Winter 1995-1996

Picture & Details : Vogue

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Amanda Lear by Riccardo Tisci


ช่วงนี้เป็นช่วงเว้นวรรคทางด้านแฟชั่นวีค..5..5..5 กว่าจะไปเริ่มใหม่ของผู้หญิงอีกทีก็ที่นิวยอร์คในวันที่8กันยายน..อีกตั้งนานแนะ ฉะนั้นช่วงนี้ใครที่สนใจแฟชั่นเพียวๆหลุดเข้ามาอ่านบล็อคดิฉันอาจอารมณ์เสียได้..5..5..5 เพราะดิฉันจะเขียนแต่เรื่องที่ตัวเองชอบ..และเกลียด พร้อมทั้งนินทาว่าร้ายบุคคลต่างๆ ซึ่งไม่เหมาะแก่บุคคลที่เปราะบางทางด้านอารมณ์..และสมอง ส่วนใครที่แข็งแรงทั้งสองเรื่องน่าจะอ่านได้..โดยไม่มีผลข้างเคียง..5..5..5


ดิฉันเป็นคนที่ชอบคนที่เป็นตัวของตัวเอง..ไม่ยืมบุคลิกของชาวบ้านมาใช้..แล้วบอกว่านี่แหละตัวฉัน แหม..ใครเชื่อก็โง่เกินห้ามใจแล้ว..5..5..5 นี่เป็นอีกหนึ่งคนที่..กลายเป็นแรงบันดาลใจของนักออกแบบหลายๆคน..ทั้งแบบโจ่งแจ้ง..และแอบๆ เธอคือ"Amanda Lear" ไปอ่านคำสัมภาษณ์ของเธอหรือเขา..หรืออะไรก็เถอะ..5..5..5 ที่สัมภาษณ์โดย"Riccardo Tisci"ได้ตามลิงค์ด้านล่างค่ะ