วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

Thierry Mugler: Fall/Winter 1984-1985 (Original Finale Music)

Image Vogue, Music Soundtrack Fred

ในฤดูกาล"Fall/Winter 1984-1985"ที่เป็นงานฉลองครบรอบ 10 ปีของ"Thierry Mugler"ที่ได้จัดขึ้นที่"Zénith Paris"เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 1984 ได้เลือกใช้เพลงประกอบจากภาพยนต์เรื่อง"King of Kings"ปี 1961 มาใช้เดินในฉากจบของโชว์นี้

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2565

The Fédération de la Haute Couture et de la Mode: Tribute to Thierry Mugler

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ว่าด้วยเรื่องงานเขียนจาก 1988-2021

ELLE Thailand: December 2021: Image ELLE Thailand

ว่ากันตามหลักความจริงแล้วการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับแฟชั่นในสื่อสิ่งพิมพ์เช่นนิตยสารหรือแม้แต่ออนไลน์ตามยุคสมัยอย่าง"Blogger"นั้นได้รับความสนใจน้อยลงเนื่องจากมีทางเลือกอื่นๆมากขึ้นตามยุคสมัย แต่สิ่งพิมพ์และ"Blogger"นั้นก็ยังเป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้มากกว่าสื่อออนไลน์อื่นๆอยู่ดี จากที่ได้เป็นส่วนนึงของบทความที่มีชื่อว่า"Thierry Mugler Hot Couture"ในนิตยสาร"ELLE Thailand"ฉบับเดือนธันวาคม 2021 เลยได้รับรู้ว่าการทำงานนั้นมีหลายขั้นตอนซับซ้อนมากขึ้นกว่าสมัยก่อนมากมาย(ก็แน่ละย่ะ..ผ่านมาตั้ง 33 ปี..5..5..5) แต่ในขณะเดียวกันก็รวดเร็วมากขึ้นด้วย แต่ก่อนนี้ในยุค 80 นั้นเขียนแล้วส่งพิสูจน์อักษรแล้วส่งกลับมาที่คนเขียนอ่านอีกครั้ง แล้วก็ส่งพิมพ์เลย แต่ในยุค 2020 นี้พิมพ์แล้วส่งไปผ่านขั้นตอนต่างๆซึ่งมากกว่าแต่รวดเร็วกว่ามาก นั่นคือข้อดีของคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เนตในยุคนี้

Hello: February 1988: Image National Library of Thailand

เมื่อย้อนกลับไปดูงานเขียนของตัวเองในปี 1988 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มต้นเขียนลงในนิตยสาร"Hello"เป็นเล่มแรก(ก็เขียนเล่มเดียวไหม?..5..5..5) ได้พบข้อผิดพลาดมากมายในการเขียน..ทั้งๆที่ใช้เวลาในแต่ละขั้นตอนนานกว่าการเขียนในสมัยนี้มาก เพราะตอนนั้นเขียนด้วยลายมือแล้วกองบรรณาธิการเอาไปแกะแล้วพิมพ์ออกมาให้ตรวจและระหว่างในช่วงเวลานั้นแผนกที่ทำเกี่ยวกับรูปแบบของหนังสือก็ต้องเอาหนังสือทั้งหมดไปฉีกเป็นชิ้นๆเพื่อถ่ายรูป..ก็สมัยนั้นไม่มีคอมพิวเตอร์ไง บอกแล้วว่าแต่ละขั้นตอนของสมัยก่อนนั้นยากกว่าสมัยนี้เพราะไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่ในขั้นตอนที่ยากลำบากนี้กลับมีข้อผิดพลาดมากมายตั้งแต่ตัวคนเขียนเองที่ยังเด็กอยู่มาก(25 ปี)และทีมงานส่วนกลางที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องแฟชั่นโดยตรง ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นความก้าวหน้าในเวลา 33 ปีที่ผ่านมาในการทำนิตยสาร

วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2564

Jean Paul Gaultier - Fashion Freak Show (2019)

Image Discogs

 

Eccentric, scandalous, provocative, exuberant and funny as ever, Jean Paul Gaultier is shaking up Russia by inventing a new kind of entertainment between a revue and a fashion show. 

In this extraordinary production, actors, dancers and circus artists will take to the stage and play outlandish, passionate, larger than life, rude, sexy, sassy creatures and personalities.

As author, director and set designer, Jean Paul Gaultier takes a look at our times in both an extravagant and tender way, and invites us behind the scenes into his world fi lled with excess, poetry and magic.

From his childhood to his early career, from his greatest fashion shows to the wild nights in Le Palace or London, Jean Paul Gaultier shares his journal of the times and pays tribute to those who have inspired him in fi lm (Pedro Almodovar, Luc Besson), music (Madonna, Kylie Minogue, Mylène Farmer) and dance (Régine Chopinot, Angelin Prejlocaj). 

In this show, thought out like a grand party, Jean Paul Gaultier will surprise us yet again. For this occasion, he designed tens of new exclusive outfi ts to incorporate within an exuberant scenography – without forgetting to invite his most iconic creations!

To carry through with this project, he collaborated with the best in their field, such as actress, scriptwriter and director Tonie Marshall, who co-directs the show, and Marion Motin (Madonna, Christine and the Queens, Stromae, RESISTE, the musical…) for choreography. From disco to funk, from pop to rock and also new wave and punk, the Fashion Freak Show is an explosive playlist of hits that have inspired the artist throughout his life. Jean Paul Gaultier - Fashion Freak Show

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564

Flashback: Miu Miu Spring/Summer 2003

Image Firstview

ย้อนกลับไปในยุค 2000 ในสมัยที่"Miu Miu"ยังมีเสื้อผ้าสำหรับผู้ชายอยู่ เสื้อผ้าสำหรับผู้ชายของ"Miu Miu"นั้นเริ่มนำเสนอผลงานที่แยกออกมาจากเสื้อผ้าผู้หญิงครั้งแรกในฤดูกาล"Fall/Winter 1999-2000" และแสดงผลงานครั้งสุดท้ายในฤดูกาล"Spring/Summer 2008"

ในฤดูกาล"Spring/Summer 2003"ถึงแม้ในการแสดงผลงานที่"Milan"จะเดินแยกกันระหว่างเสื้อผ้าของผู้หญิงและของผู้ชายแต่ก็ยังใช้แนวคิดและโทนสีร่วมกันเป็นส่วนใหญ่ ที่แตกต่างกันคือเสื้อผ้าของผู้หญิงนั้นจะมีจุดขายเครื่องประดับและเสื้อผ้าบางส่วนที่ทำจากพลาสติกใสหลากสีที่มีรูปทรงคล้ายใบไม้และดอกไม้(น่าจะเป็นงานแบบ"Laser Cut" - ผู้เขียน) แต่สำหรับเสื้อผ้าของผู้ชายนั้นจุดขายอยู่ที่เข็มขัดที่มีกระเป๋าตกแต่งในแบบ"Cargo"

หมายเหตุ - บทความคล้ายกันนี้เคยเขียนไว้เมื่อปี 2010 ในชื่อบทความ Miu Miu : Men's Spring/Summer 2003 แต่ในครั้งนั้นมีแต่รูปภาพของเสื้อผ้าผู้ชายเพียงอย่างเดียวไม่มีคำอธิบาย

Image Firstview

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

An American in Paris

Patrick Kelly (Left): Image Imgur, Virgil Abloh (Right): Image Michel Gaubert

จากข่าวการเสียชีวิตของ"Virgil Abloh"เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2021 เลยทำให้ผู้เขียนนึกถึง"Patrick Kelly"ที่มีส่วนคล้ายกัน ทั้งสองคนเป็น"African-American"ที่มาสร้างชื่อเสียงใน"Paris"โดยที่"Patrick Kelly"นั้นมีแบรนด์ของตัวเองเพียงอย่างเดียวแต่"Virgil Abloh"นั้นมีทั้งแบรนด์ตัวเองอย่าง"Off-White"และเสื้อผ้าผู้ชายที่ทำให้กับ"Louis Vuitton" ทั้งสองคนได้นำเอาวัฒนธรรมของ"African-American"มาใช้ในการนำเสนอผลงานให้คนทั้งโลกได้จับตามอง และทั้งสองคนได้เสียชีวิตลงก่อนวัยอันควรในขณะที่ยังมีชื่อเสียง โดย"Patrick Kelly"นั้นได้เสียชีวิตลงด้วยวัย 35 ปีจากการติดเชื้อ"HIV"ในวันที่ 1 มกราคมปี 1990 โดยมี"Fall/Winter 1989-1990"เป็นการแสดงผลงานครั้งสุดท้าย ส่วน"Virgil Abloh"ได้เสียลงด้วยวัย 41 ปีจากโรคมะเร็งในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2021 โดยมี"Fall/Winter 2021-2020"ที่"Off-White"และเสื้อผ้าผู้ชาย"Spring/Summer 2022"ที่"Louis Vuitton"เป็นการแสดงผลงานครั้งสุดท้าย

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

Thierry Mugler for Pronuptia


ผลงานของ"Thierry Mugler"ที่ทำให้กับ"Pronuptia"ที่เป็นแบรนด์ชุดแต่งงานของฝรั่งเศสในปี 1989 ถ้าเป็นสมัยนี้คงต้องเรียกว่า"Thierry Mugler x Pronuptia"เพราะถือว่าเป็นงาน"Collaboration" แต่ในสมัยนั้นไม่นิยมใช้คำว่า"Collaboration"หรือใช้สัญลักษณ์"x"แบบในปัจจุบัน ส่วนข้อมูลและรูปนั้นมีน้อยมากจริงๆ ในภาพด้านซ้ายบนน่าจะเป็นบัตรเชิญเพราะมีการระบุวันที่ว่าวันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 1989 ส่วนภาพด้านขวาน่าจะมาจากภาพโฆษณาในนิตยสาร

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

Issey Miyake's Acrylic Bustier

Issey Miyake: Fall/Winter 1980-1981: Image Getty Images, Jean Luce Huré

จริงๆแล้วเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเสื้อตัวนี้มาแล้วครั้งนึงในปี 2010 (หูย 11 ปีแล้วเนอะ..5..5..5) โดยใช้ชื่อบทความว่า"Issey Miyake : Plastic Bustier (Fall/Winter 1980-1981)"ที่นำมาเขียนอีกครั้งนี้ด้วยรูปและข้อมูลที่มีเยอะขึ้น ประกอบกับบทความที่เกี่ยวกับเสื้อผ้ายุค 80 ที่เป็นภาษาไทยค่อนข้างมีคนเขียนถึงน้อย 

ภาพขาวดำด้านบนด้านซ้ายคือภาพของ"Issey Miyake"ที่ออกมาพร้อมกับเหล่านางแบบที่ใส่เสื้อตัวนี้ในตอนจบของการแสดงผลงาน ส่วนภาพกลางและภาพขวาคือภาพของนางแบบขณะแสดงผลงานเสื้อตัวนี้บนเวที

Issey Miyake: Fall/Winter 1980-1981: Image Europeana

ในการแสดงผลงานบนเวทีนั้นนางแบบใส่เสื้อตัวนี้คู่กับกางเกงและเสื้อคลุมที่มีคู่สีเดียวกัน เสื้อตัวนี้มีชื่อเรียกตามลักษณะหลายอย่างเช่น"Bodice","Breastplate"และ"Bustier" รวมไปถึงวัสดุที่ใช้ทำก็เรียกได้หลายแบบเช่น"Acrylic","Plastic"และ"Polyester Resin"


ในการแสดงผลงานเมื่อเดือนมีนาคมปี 1980 (พ.ศ. 2523) เสื้อตัวนี้โดนผลิตออกมาหลายสีแต่แต่ละสีน่าจะผลิตออกมาจำนวนไม่เยอะนัก เท่าที่เคยเห็น"Grace Jones"มีเสื้อตัวนี้อยู่ 2 ชิ้นคือสีดำและสีน้ำเงิน ส่วนมากแล้วเสื้อตัวนี้จะอยู่ในพิพิธภัณฑ์เสียเป็นส่วนมาก ที่มีหลุดออกมาประมูลจะมีราคาที่สำรวจได้หนสุดท้ายเมื่อปี 2016 คือชิ้นละประมาณ 468,420 บาท (ตัวล่างซ้ายสีสัมฤทธิ์)